วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 5.2 ภาพศึกษาดูงาน

กิจกรรมที่ 6

จากการเรียนวิชาการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศของอาจารย์อภิชาติ โดยการจัดทำบล็อกของตนเอง หากนำไปใช้ในการทำงานในหน้าที่โดยเฉพาะงานการสอนดิฉันคิดว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นอย่างดี โดยให้นักเรียนทำงานบางชิ้นส่งงานในบล็อก ซึ่งมีผลดี คือ ไม่เสียเวลาในการตรวจงานสามารถตรวจงานได้ตลอดเวลา ได้รู้ถึงความสามารถของนักเรียน แต่มีข้อจำกัด คือ โรงเรียนไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงพอสำหรับนักเรียนและที่สำคัญนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาจะไม่มีเครื่องคอมฯเป็นของตัวเอง จึงทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญ คือ นักเรียนจะไม่สามารถส่งงานได้ทันตามเวลาที่กำหนดหรือบางคนอาจจะไม่ทำเลย ดังนั้นจึงคิดว่าหากมีความพร้อมก็สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดี สำหรับในด้านการบริหาร จะมีประโยชน์ตรงที่สามารถทำงานที่ตนเองรับผิดชอบได้ดี ได้มีข้อมูลที่จำเป็นในการทำงาน ทำให้สะดวก รวดเร็วในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ในส่วนของโรงเรียนสามารถเก็บข้อมูลที่สำคัญที่จำเป็นต้องนำไปใช้ได้บ่อย เช่นข้อมูลประวัติโรงเรียน ข้อมูลบุคลกร ข้อมูลนักเรียนและข้อมูลอื่น ๆ เพื่อสะดวกและรวดเร็วในการใช้ข้อมูลต่าง ๆ และจากการเรียนทำให้ดิฉันสามารถมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ มีความรู้เพิ่มขึ้นมากพอสมควรและที่สำคัญมีความสุขกับการทำงานส่งอาจารย์

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 5.1 ศึกษาดูงาน

กิจกรรมศึกษาดูงานประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร์ โดยก่อนการไปดูงานนักศึกษาได้ร่วมประชุมเพื่อกำหนดสถานที่ ร่วมประชุมกับอาจารย์และดำเนินการในด้านเอกสาร ติดต่อประสานงาน คณะกรรมการจะประชุมพร้อมทั้งแจ้งให้เพื่อนนักศึกษาทราบข้อมูลเป็นระยะ ในด้านส่วนตัวของนักศึกษาแต่ละคนต้องดำเนินการ คือ ดำเนินการทำ passport ขออนุญาตศึกษาดูงาน เตรียมความพร้อมทุก ๆ ด้าน และเดินทางศึกษาดูงานในวันที่ 24 มกราคม 2554 ข้าพเจ้าขึ้นรถทัวร์ ณ สี่แยกสวนผัก เวลา 05.40 น. เดินทางสู่ประเทศมาเลเซียศึกษาดูงานโรงเรียนโอเดียน ชมสถานที่สำคัญ ๆ เช่น ตึกแฝดที่สูงที่สุดในโลก สะพานยาวอันดับสองของโลก เป็นต้น ใช้เวลาในประเทศมาเลเซียเป็นเวลา 2 วัน เดินทางสู่ประเทศสิงคโปร์ วันที่ 26 มกราคม 2544 ชมสถานที่สำคัญ เกนติ้ง (เมืองในเขา) เซนโตซา เดินทางกลับสู่ประเทศมาเลเซีย วันที่ 27 มกราคม 2554 และกลับถึงประเทศไทย นครศรีธรรมราช วันที่ 28 มกราคม 2554 เวลา 00.30 น.
จากการศึกษาดูงานต่างประเทศในครั้งนี้ ในประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีสิ่งก่อสร้างที่แปลกดูสวยงาม เก๋ เช่น ตึกแต่ละตึกส่วนใหญ่เป็นตึกรูปทรงแปลก ๆ และสูงมาก ๆ ชาวสิงคโปร์เป็นคนเดินเร็วมาก ที่เกนติ้งเป็นการสร้างเมืองไว้บนเขา สิ่งที่สามารถนำมาใช้ในการปรับปรุง

กิจกรรมที่ 3 ขั้นตอนการนำข้อมูลลงในโปรแกรม Spss for Windows

สรุปขั้นตอนการนำข้อมูลลงในโปรแกรม Spss for Windows
1. เปิดโปรแกรม Spss แล้ว
2. กำหนดค่าตัวแปร โดยคลิ๊ก Variable View (จากด้านล่าง)
3. ดูข้อมูลในแบบสอบถาม แล้วกรอกข้อมูล โดย
3.1 ในช่อง Name พิมพ์ sex
3.2 ช่อง Width กำหนดความกว้าง 4
3.3 ช่อง Decimals เป็นจุดทศนิยม
3.4 ช่อง Values กำหนดคำอธิบายตัวแปร โดยพิมพ์ 1>ชาย> Add และพิมพ์ 2>หญิง> Add แล้ว OK
4. บรรทัดถัดไปในช่อง Name กำหนดค่าตัวแปรและคำอธิบายของการประเมินแต่ละด้าน โดย
4.1 ด้านที่ 1 ข้อที่ 1 พิมพ์ a1 กำหนด ใน Values โดยพิมพ์ 1>น้อยที่สุด> Add, 2>น้อย> Add,
3>ปานกลาง> Add, 4>มาก> Add และ 5>มากที่สุด> Add
4.2 พิมพ์ a2, a3,a4 และกำหนดคำอธิบายเช่นเดียวกัน
4.3 ด้านที่ 2 พิมพ์ b,ด้านที่ 3 พิมพ์ c, ด้านที่ 4 พิมพ์ d แล้วกำหนดคำอธิบายเช่นเดียวกัน จนครบ
5. ดูช่อง Data View แล้วกรอกข้อมูลตามแบบสอบถามทีละชุดจนครบทุกชุด
6. คำนวณ โดยดูใน Variable View >Transform>Compute>Target>พิมพ์ ta>เลือก SUM>
พิมพ์ a1,a2,a3,a4 / 4>OK
7. คำนวณ tb, tc, td และ tt (ta, tb, tc, td)
8. หาความถี่ของเพศ โดย Variable View>Analyze>Descriptive Statistics>Frequencies>sex>OK
9. การหาค่า SD โดย Variable View>Analyze>Descriptive Statistics> Descriptives>a1-d4>OK
10. การแปลความหมายของข้อมูลที่มีลักษณะแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ตามเกณฑ์ของประคอง กรรณสูตร (2537 : 77) ดังนี้
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.00 – 1.50 หมายถึง มีน้อยที่สุด
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 1.51 – 2.50 หมายถึง มีน้อย
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.51 – 3.50 หมายถึง มีปานกลาง
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 – 4.50 หมายถึง มีมาก
ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.51 – 5.00 หมายถึง มีมากที่สุด